คลิตี้ล่าง ![]() เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก กับ
เจ.ทราเวล เซอร์วิส ( กาญจนบุรี )
บริษัทท่องเที่ยวของคนเมืองกาญจน์ 034-513455 หรือ 081-8580228
ความลึกลับของกระเหรี่ยงเผ่าคลิตี้ล่าง
ประวัติหมู่บ้าน คลิตี้เป็นคำไทยที่เพี้ยนมาจากภาษากระเหรี่ยงว่าคี่ถี่ แปลว่าเสือโทน (เสือเมื่อโตเป็นหนุ่มจะแยกไปอยู่ลำพังตัวเดียว เรียกว่าเสือโทน) ภาษาไทยจึงเรียกว่าทุ่งเสือโทน ในสมัยก่อนบริเวณทุ่งแห่งนี้มีเสืออาศัยอยู่จำนวนมาก แต่มีเสือโทนตัวหนึ่งใหญ่ที่สุดพบเห็นรอยเท้าขนาดเท่าช้าง อาณาบริเวณการหากินครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ทุ่งใหญ่นเรศวร ลำคลองงู แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ที่ตั้งและประชากร เขตลุ่มน้ำแม่กลอง ตอนบน จำนวนพื้นที่ : 60,650ไร่ ประเภทป่าตามกฎหมาย : เขตป่าสงวนแห่งชาติ พิกัด : 494566N 1644368E ความสูงจากระดับน้ำทะเล : 638 เมตร สภาพพื้นที่ : ภูเขาหินปูน ป่าดิบแล้งสลับเบญจพรรณ อุณหภูมิเฉลี่ย : 22.9 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน : 151.4 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นเฉลี่ย : 99.1 เปอร์เซ็นต์ จำนวนน้ำระเหย : 70.4 มิลลิเมตร จำนวนครัวเรือน : 46 หลังคาเรือน ประชากร 228 คน แบ่งเป็น หมู่ 3 ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ 18 หลังคาเรือน หมู่ 4 ต.ชะแล อ.ทองผาภูมิ 28 หลังคาเรือน ในอดีตตั้งหมู่บ้านย้ายไปมาในบริเวณแถบนี้มาหลายร้อยปี จนในที่สุดตั้งอยู่ที่ก้องหล้าและพุโพ่ ซึ่งห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร ด้วยความเชื่ออยู่แล้วไม่มีความสุข จึงย้ายไปอยู่รวมกับบ้านคลิตี้บน ซึ่งที่ตั้งเดิมอยู่ตรงข้ามหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ 8 (กจ.8) เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ได้พักหนึ่งจึงได้ย้ายกลับมาตั้งหมู่บ้านที่คลิตี้ล่างอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2440 โดยบรรพบุรุษ 4 ครอบครัวแรกเริ่มที่ยังสามารถให้ข้อมูลความเป็นมาของชุมชน ได้แก่ ครอบครัวลุงโอเมี๊ยะ ลุงกู้ ลุงมิอี และลุงขวย ปัจจุบันชุมชนอายุ 105 ปี ลักษณะบ้านเรือนสมัยก่อน จะเป็นบ้านที่ปลูกขึ้นด้วยไม้ไผ่ส่วนใหญ่ หลังคาใช้ใบหวายหรือหญ้าคาในการมุง เตาไฟจะอยู่บริเวณกลางบ้านเพื่อประกอบอาหารและให้ความอบอุ่นแก่สมาชิกในครอบครัว ประวัติวัดคลิตี้ล่าง วัดคลิตี้ล่างสร้างตั้งแต่เริ่มมีหมู่บ้านปี พ.ศ.2440 โดยพระรูปแรกชื่อ เกียะโบ้วมาโร ต่อมามีพระรูปใหม่ชื่อ พู้ว์เกียะบือ (ย่องกิ่ว) ซึ่งบวชที่บ้านนาสวนในโบสถ์น้ำแล้วได้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ หลวงพ่อเกียะโบ้วมาโรจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดคลิตี้บนซึ่งบ้านเกิด และมอบให้พระพู้ว์เกียะบือดูแลวัด จนมรณภาพตอนอายุ 76 ปี หลังจากนั้นก็มีพระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันมาโดยตลอด วิถีชีวิตชุมชน คนในชุมชนบ้านคลิตี้ล่างการดำรงชีวิตเป็นแบบพอเพียง การหาของป่า การทำไร่ข้าวจะทำเพื่อกินเท่านั้น การทำการเกษตรเป็นแบบหมุนเวียน พืชหลักในไร่ได้แก่ ข้าว ถึงฤดูทำไร่ข้าวทุกครัวเรือนจะหยอดเมล็ดข้าวพร้อมเมล็ดผัก อันได้แก่ พริก แตงไทย แตงเปรี้ยว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชีหอม ผักชีลาว ผักขี้โอ้ง และข้าวโพดฯลฯ ซึ่งเป็นผลผลิตทีไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ผักจะขึ้นพร้อมกับข้าว ผลผลิตจะออกตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ผักที่กินไม่หมดจะดองใส่ไหไว้กินในหน้าแล้ง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวบ้านจะเก็บพริกโดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน วัฒนธรรมชุมชน การบอกเวลา ทุกวันเวลา 18.00 น.พระที่วัดจะตีเกราะ สามชุด และตีเพิ่มอีก 3 ครั้ง เพื่อบอกคนที่อยู่ไร่นาว่าได้เวลากลับบ้านแล้ว ถ้ามีเหตุฉุกเฉินในหมู่บ้านชาวบ้านก็จะตีเช่นกัน เพื่อแจ้งให้สมาชิกในหมู่บ้านมารวมตัวกัน วันหยุด ชาวคลิตี้ล่างมีวันหยุดปกติคือ ทุกวันพระ เด็ก คนแก่ หนุ่มสาว ในช่วงเช้า จะนำข้าวปลาอาหารไปตักบาตรที่วัด ฟังธรรม และประชุมหารือกัน การทำกิน เป็นเกษตรแบบไร่หมุนเวียน โดยทำการปลูกข้าวไร่และพืชผัก 1-2 ปี แล้วปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นตัว ด้วยการเปลี่ยนไปใช้พื้นที่ไร่ซากเก่า ซึ่งเคยทำไร่มาแล้วเมื่อ 4-10 ปีก่อน ต่อมาถูกจำกัดพื้นที่ทำกินโดยเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทำให้หนึ่งครอบครัวจะเหลือพื้นที่ทำกินเแลี่ยเพียง 3-5 แปลง อาชีพรองของชุมชน เป็นการเลี้ยงสัตว์ หลังจากเหมืองแร่ปล่อยสารตะกั่ว ทำให้เป็ด วัว ควายล้มตาย ชาวบ้านจึงรีบขายทิ้งหมด ปัจจุบันยังมีวัว ควายน้อยมากในหมู่บ้าน บุหรี่ ในชุมชนจะปลูกและหั่นตากไว้สูบเองทุกบ้าน ส่วนใหญ่จะใช้ใบกระโดนแห้งม้วนรสชาติจะดีกว่าใบตองและกระดาษ การสีข้าว ในหมู่บ้านยังมีการใช้ครกกระเดื่องในการตำข้าว ปัจจุบันมีโรงสีข้าวที่บ้านคลิตี้บนซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 12 กิโลเมตร แต่หลายบ้านสามารถตำข้าวไว้กินเอง การทอผ้า ในอดีตชาวบ้านจะปลูกฝ้าย ปั่นด้ายเพื่อทอผ้าใส่เอง หลังจากมีพ่อค้านำด้ายสำเร็จรูปมาขาย ทำให้การปลูกฝ้ายหายไป ชาวบ้านหันมาซื้อด้ายสำเร็จรูปแทน การทอผ้ายังคงเหลืออยู่ในเฉพาะกลุ่มคนแก่ อนึ่งการทอผ้ากระเหรี่ยงเป็นการทอที่ช้ามาก เนื่องจากอุปกรณ์ดั้งเดิมที่ใช้มีขนาดเล็กและสั้น ทำให้ใช้เวลาในการทอมาก ผ้าถุงหนึ่งผืนต้องใช้ผ้าต่อกันถึง 3 ส่วน ชุดผู้ชายหนึ่งชุดใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 15 วัน ย่าม 1 ใบ ใช้เวลาทอไม่ต่ำกว่า 10 วัน ด้วยความลำบากในการทำทำให้ชุดกระเหรี่ยงมีราคาแพงมาก จะซื้อขายกันเองในชุมชน และจะใส่ในวันสำคัญ ๆ ในหมู่บ้านเท่านั้น การแต่งกาย - ผู้หญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานใส่ชุดคลุมยาวสีขาวถักไหล่ด้วยด้ายสีฉูดฉาด แนวสีแดงและสีชมพู - ผู้หญิงแต่งงานแล้ว ใส่ผ้าซิ่นลายพื้นสีแดงกับเสื้อลายพื้นแดง ถึงแม้จะเลิกกับสามีแล้วก็ไม่สามารถใส่ชุดเหมือนสาวโสดได้ - ผู้ชายมีชุดแบบเดียวคือ สีขาวยาวถักลายทั้งตัวสีแดง ลวดลายมีมาก ทำยากมากกว่าของผู้หญิง - ย่ามแดง จะมีสีสรรฉูดฉาดลวดลายสวยงามนานาสีมีไว้ใส่เครื่องลางของขลัง และของใช้ส่วนตัวยามออกจากบ้าน ทำยากมาก 1 ใบ ใช้เวลาประมาณ 10 วัน - ย่ามขาว น้ำเงินแดงหรือสีอื่น ๆ ไม่มีถักลวดลายเหมือนย่ามแดง มีไว้ใส่ห่อหมาก ห่อยา และของใช้ทั่วไป ยามออกจากบ้าน การปลูกบ้าน ชาวกระเหรี่ยงบ้านคลิตี้ล่างเป็นกระเหรี่ยงโป ไม่นิยมปลูกบ้านชิดกันเหมือนกระเหรี่ยงสะกอทางเหนือ แต่ละครัวเรือนเมื่อลูกชายแต่งงานจะต้องไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงสักระยะหนึ่งราว 1-3 ปี แล้วจึงสามารถแยกออกไปสร้างบ้านอยู่ใหม่ เพื่อที่จะไหว้ผีที่บ้านของตัวเอง ลูกสาวคนสุดท้องเท่านั้นที่จะได้อยู่และทำกินในพื้นที่ของพ่อแม่โดยไม่ต้องแยกไปปลูก บ้านใหม่เมื่อแต่งงานแล้ว ความเชื่อดั้งเดิมคนกระเหรี่ยงจะไม่ใช้ไม้จริงในการสร้างบ้านเพราะถือว่าฆ่าบรรพบุรุษของตัวเองมาสร้างที่อยู่ เนื่องจากคนกระเหรี่ยงแต่เดิมถือผี โดยยึดต้นไม้ใหญ่เป็นผีประจำตระกูล ดังนั้นจึงปลูกบ้านโดยใช้ไม้ไผ่และใบหวายเท่านั้น ซึ่ง2-3 ปีจะต้องซ่อมแซมใหม่ ปัจจุบันมีการปลูกบ้านด้วยไม้จริงเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการบ้านที่แข็งแรงถาวร เพราะไม่มีการอพยพย้ายที่ทำกินอีกแล้ว การละเล่น ยังมีผู้ที่สามารถรำตงได้แต่ปัจจุบันไม่มีคนรุ่นหลังสืบทอด มีการเล่นสะบ้าและลูกช่วงตามงานเทศกาล เช่น ช่วงสงกรานต์ ร้องเพลงในชุมชนยังมีคนสามารถเล่นได้ 3 คน ประเพณี การย่องสาว ปัจจุบันชุมชนคลิตี้ล่างและคลิตี้บน ยังมีประเพณีการย่องสาวอยู่ โดยชายหนุ่มจะแอบไปหาหญิงสาวในห้องนอนตอนกลางคืน ถ้าหญิงสาวพอใจชายหนุ่มคนนั้น หญิงสาวก็จะไม่ร้องบอกญาติ ๆ แต่ญาติฝ่ายหญิงต้องพยายามจับให้ได้ว่ามีคนมาย่องหาลูกสาวตนเอง เมื่อจับได้จะมีการแต่งงานให้อยู่กินกันต่อไป ถ้ามีการย่องช่วงเข้าพรรษาถึง |